ความหมายของยาแผนโบราณ

 

ยาแผนโบราณ ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 หมายถึงยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ หรือบำบัดโรคซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศหรือยาที่รัฐมนตรีประกาศ เป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ

ตามความหมายดังกล่าวข้างต้น สาระสำคัญของยาแผนโบราณคือ ยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ ซึ่งเป็นยาที่อาศัยความรู้จากตำราหรือเรียนสืบต่อกันมา อันมิใช่การศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์และยาแ ผนโบราณที่ยอมรับของกฎหมายยาจะต้องปรากฏในตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศ หรือเป็นยาที่รัฐมนตรีประกาศหรือรับขึ้นทะเบียนเท่านั้น

 

รูปแบบของยาแผนโบราณ
ยาแผนโบราณเป็นการนำเอาสมุนไพร (จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่) มาผสม ปรุง หรือแปรสภาพ สมุนไพรที่ถูกแปรรูปเป็นยาแผนโบราณจะมีทั้ งที่อยู่ในรูปยาน้ำยาเม็ดหรือแคปซูล ที่เห็นกันเจนตาคือ อยู่ในรูปของยาลูกกลอนและยาผง
ประเภทของยาแผนโบราณ

ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ  ได้แก่ ตำรับยาแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศว่าเป็นยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ซึ่งจะมีชื่อ ส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน คำเตือน และขนาดบรรจุ เช่น ยาประสะกระเพรา ยาวิสัมพยาใหญ่ ยาแสงหมึก ยาประสะกานพลู ฯลฯ
ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่ ตำรับยาแผนไทย และสมุนไพรที่มีการพัฒนา ที่ทางคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้คัดเลือกยาแผนไทยและสมุนไพร ที่มีข้อมูลการใช้ หรือมีข้อมูลงานวิจัยสนับสนุน ได้แก่ ยาประสะมะแว้ง ยาแก้ไข้ (ยาห้าราก) ยาประสะไพล ขมิ้นชัน ชุมเห็ดเทศ ฟ้าทะลายโจร พญายอ และไพล
ยามุนไพรที่ไม่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่ สมุนไพรทีมีการวิจัยแล้วว่าให้ผลในการรักษาและมีความปลอดภัย พร้อมที่จะพัฒนาไปเป็นแผนโบราณ

เนื่องจากยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติได้กำหนดแนวคิดและเกณฑ์การคัดเลือกไว้อย่างชัดเจน จึงขอนำเสนอไว้ ณ ที่นี้ด้วย กล่าวคือ แนวคิดและเกณฑ์ในการคัดเลือกรายการยาสมุนไพรบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ นั้นก็คือการผสมผสานแนวคิดของการรักษาของการแพทย์ตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกัน เพื่อปรับใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยทั้งในด้านการรักษาและป้องกันโรค เพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข

Leave a comment