การศึกษาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย : ว่านที่ใช้เป็นยารักษาโรค

 

                รายการวิจัย เรื่องการศึกษาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย :ว่านที่ใช้เป็นยารักษาโรค   มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อรวบรวมองค์ความรู้และภูมิปัญญา การใช้ว่านในการรักษาโรค ของแพทย์แผนไทย ศึกษารวบรวมชนิดของว่าน คุณค่าทางเภสัชวิทยา สรรพคุณทางยา และรวบรวมตำรับยาไทย กลุ่มโรคและอาการที่ใช้ว่านในการรักษา โดยใช้วิธีการศึกษาการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก

                ผลการศึกษาพบว่าหมอพื้นบ้านทั้ง 4 ภาค ของประเทศไทย ( 16 จังหวัด) นำว่านมาใช้เป็น     ยารักษาโรค   แบ่งอันดับการใช้จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ว่านชักมดลูก ว่านน้ำ ว่านกีบแรด   ว่านร่อนทอง  ว่านเปราะหอม  ว่านนางคำ  ว่านมหากาฬ  ว่านหาง้าง ว่านเอ็นเหลือง ว่านทรหด   ว่านสบู่เลือด  ว่านหอมแดง ว่านสิงหะโมรา  ว่านคัณฑะมาลา  ว่านค้างคางดำ ว่านรางจืด ว่านกาบหอยแครง   ว่านขอทอง ว่านหางจะเข้ ฯลฯ จากการจัดอันดับการใช้ พบว่า ว่านที่หมอพื้นบ้านนำมาทำเป็นยามากที่สุดคือ ว่านชักมดลูก พบทุกภาคของประเทศ โรคหรือกลุ่มอาการที่ใช้ว่านชักมดลูกรักษาเป็นยาเดี่ยว   และใช้ร่วมกับสมุนไพรตัวอื่นในรูปของยาตำรับ คือ มดลูกอักเสบ ชักมดลูกเข้าอู่   ขับน้ำคาวปลา หญิงคลอดบุตรใหม่  รักษาไส้เลื่อน  กระชับมดลูก  แก้มดลูกหย่อน  กระบังลมเคลื่อน มุตกิตระดูขาว   บำรุงเลือด    รักษาริดสีดวง   รักษาอาการตกเลือด

                จากการศึกษาครั้งนี้ ทำให้ทราบข้อมูลองค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย จากพระคัมภีร์  ตำรา  หมอพื้นบ้านทั้งที่มีใบประกอบโรคศิลปะ   ไม่มีโรคศิลปะ   และวัฒนธรรมท้องถิ่น ทำให้เห็นภาพรวมการใช้ว่านรักษาโรคในประเทศไทย  รวมทั้งยังทราบถึงสถานการณ์ของการใช้ว่านเป็นยารักษาโรคในปัจจุบัน   มีการใช้อยู่มาก   แต่ชนิดที่ใช้ไม่หลากหลาย

Leave a comment